ตราสัญลักษณ์
ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล ที่ตั้งของหมู่บ้านในเขตตำบลสาคู ตำบลสาคู ประกอบด้วย

หมู่ที่ ๑ บ้านในยาง
หมู่ที่ ๒ บ้านตรอกม่วง
หมู่ที่ ๓ บ้านสาคู
หมู่ที่ ๔ บ้านในทอน
หมู่ที่ ๕ บ้านบางม่าเหล่า

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นภูเขาสลับกับที่ราบตลอดริมฝั่งทะเลอันดามัน มีหาดทรายอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสาคู จำนวน 2 หาด คือหาดในทอน และหาดในยางมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยประมาณ ๖๐% เป็นพื้นที่สำหรับการเกษตร ๓๕ % และมีพื้นที่ส่วนอื่น ๕% มี ๓ ฤดูกาล (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว)

ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศ โดยทั่วไปเป็นที่ ราบสลับกับเนินเขา ซึ่งจะมีภูมิอากาศแตกต่างจากภาคอื่นของประเทศ โดยมีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจากอิทธิพลของทิศทางลมและปริมาณน้ำฝน ทำให้สามารถแบ่งฤดูกาลในจังหวัดภูเก็ต ออกเป็น 2 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ทำให้เป็นช่วงที่อุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นและมีปริมาณ น้ำฝนลดอย่างเห็นได้ชัด
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม เนืองจากเป็นลมที่พัดผ่านทะเลมาตลอดเป็นมวลอากาศที่มีความชื้นสูง ทำให้ฝนตกชุก
องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู มีการเล่าถึงตำบลสาคูในอดีตว่าตำบลสาคู เริ่มตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบแน่ชัดแต่เล่ากันว่าสมัยก่อนมีสระน้ำขนาดใหญ่สำหรับให้โคได้กินน้ำ ต่อมาชาวบ้านอพยพกันมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่จึงเรียกว่าบ้าน “สระโค” และต่อมาเรียกเพี้ยนมาเป็น “สาคู” และได้เรียกชื่อ”บ้านสาคู” ต่อมา ภายหลังมีการจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลสาคู จึงเรียกว่า “ตำบลสาคู”จนมาถึงปัจจุบันนี้เดิมตำบลสาคูมีอยู่ 4 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านในยาง
หมู่ที่ 2 บ้านตรอกม่วง
หมู่ที่ 3 บ้านสาคู
หมู่ที่ 4 บ้านในทอน เมื่อปี พ.ศ.2542 ตำบลสาคูได้แยกหมู่บ้านเพิ่ม 1 หมู่บ้านคือ หมู่บ้านบางม่าเหลา ซึ่งแยกจากหมู่ที่ 1 บ้านในยาง เพื่อความสะดวกในการปกครอง ปัจจุบันมี 5 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 5 บ้านบางม่าเหลา
วิสัยทัศน์
" ชุมชนเข้มแข็ง บ้านเมืองน่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี มีความเป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองรับเมืองนานาชาติ "
พันธกิจ
1) การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม แหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริม และพัฒนาการประกอบอาชีพของประชาชน
2) การเสริมสร้างพัฒนาการศึกษา ศาสนา และการกีฬาตลอดจนอนุรักษ์และพัฒนา ศิลปวัฒนธรรมตาม ประเพณีอันดีงาม
3) การเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน การป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด และสงเคราะห์ประชาชนผู้ด้อยโอกาส
4) การปรับปรุง และพัฒนาแหล่งน้ําอุปโภค บริโภค ระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการได้มาตรฐาน และ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
5) ส่งเสริมและสนับสนุนการสาธารณสุข นันทนาการ การมีสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากโรคระบาดตาม หลักประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน
6) การจัดการรักษาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม แหล่งประวัติศาสตร์ ทัศนียภาพให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ดีอย่าง ยั่งยืน และสร้างจิตสํานึกอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
7) การพัฒนาเมืองน่าอยู่ การผังเมือง โครงสร้างพื้นฐานให้ทั่วถึง และมีมาตรฐานสากล
8) การปรับปรุงและพัฒนาระบบการเมืองการบริหาร การจัดการแบบใหม่ โปร่งใส และส่งเสริมให้ประชาชนมี ส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
9) การปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัยและทั่วถึง